Topbar Banner Topbar Banner Topbar Banner

แม่พิมพ์พระสมเด็จเกษไชโย กรุพระมหาพุทธพิมพ์

Sep 17, 2023
พระสมเด็จ
แม่พิมพ์พระสมเด็จเกษไชโย กรุพระมหาพุทธพิมพ์
พระสมเด็จเกษไชโย กรุพระมหาพุทธพิมพ์ มีพิมพ์พระได้ประมาณ ๑๐๐ กว่าพิมพ์ ประกอบด้วยพิมพ์ ๓ ชั้น ราว ๓๐ พิมพ์ (มีพิมพ์ปรกโพธิ์ และพิมพ์ฐานแซม รวมอยู่ด้วย) พิมพ์ ๕ ชั้น ราว ๕ พิมพ์ พิมพ์ ๖ ชั้น ราว ๖ พิมพ์ พิมพ์ ๗ ชั้น ราว ๒๐ พิมพ์ พิมพ์ ๙ ชั้น พิมพ์นางพญา (หรือแบบสามเหลี่ยมเจดีย์) และชนิดที่เป็นพิมพ์เดียวกัน แต่คนละบล็อกแม่พิมพ์ พระสมเด็จชุดตำนานนี้ ได้ถูกสร้างขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะตั้งแต่เริ่มสร้างพระมหาพุทธพิมพ์ ในปี พ.ศ. ๒๔๐๐ เท่าที่ได้สังเกตปี พ.ศ. ที่มีปรากฏที่องค์พระเท่าที่ทราบกันอยู่ อาจจะด้านหน้าขององค์พระ หรือด้านหลังขององค์พระ เป็นแบบตัวเลขจมในเนื้อพระ และที่นูนขึ้นมาจากองค์พระ หรือบางทีเขียนที่โลหะปิดที่องค์พระก็ตาม ในส่วนตัวของผมเองนั้น เมื่อได้พระที่มีเลข พ.ศ. ในครั้งแรกนั้น จึงได้ค้นคว้าประวัติความเป็นมาว่ามีความสอดคล้องตรงกันหรือไม่ จากนั้นได้นำองค์ไปเช็คอายุเพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ ศึกษาพุทธศิลป์จากองค์พระมาจากพระพุทธรูปองค์ใด เป็นต้น  และตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ พระสมเด็จพิมพ์พระมหาพุทธพิมพ์ ซึ่งเป็นพระประธานอยู่ในวิหารวัดไชโยปัจจุบันนี้

เรื่องราวในประวัติศาสตร์ ศึกษาจากประวัติของพระธรรมถาวร (ช่วง สิงหเสนี) บุตรของนายขำ ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ นำบุตรชายมาฝากเป็นศิษย์ (ประวัตินี้ ถ้าได้เปิดดูตามเว็บไซต์ อาจมีความคลาดเคลื่อนบ้าง เมื่อได้อ่านแล้ววิเคราะห์ปี พ.ศ. เหตุการณ์ต่าง ๆ ประกอบอย่างพินิจพิเคราะห์ อาจทราบได้เองว่าคลาดเคลื่อนส่วนใดบ้าง) หลังจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสได้ไม่นาน เด็กชายช่วงมาบรรพชาเป็นสามเณร และจากคำบอกเล่าของสามเณร เมื่อมีอายุพรรษากาลมากแล้ว ได้บอกกับผู้ที่มาสอบถาม หรือบอกแก่พระลูกศิษย์ลูกหาว่า เมื่อเราบวชได้ ๒ ปี (หมายถึงบวชเป็นสามเณรได้ ๒ ปี) ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงได้สร้างพระอย่างเป็นกิจจะลักษณะ (คือเป็นวาระพิเศษ) เพื่อนำไปบรรจุที่วัดไชโย จังหวัดอ่างทอง เพื่อบรรจุในพระใหญ่ที่ท่านได้สร้างไว้กลางแจ้ง บางคนไปตีความว่า ท่านบวชได้ ๒ ปี สมเด็จท่านเริ่มสร้างพระ ท่านเจ้าคุณพระธรรมถาวร (ช่วง) ท่านบวชพระในปี พ.ศ. ๒๔๐๗ ก่อนที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จจะได้รับการสถาปนาเป็น “สมเด็จพระราชาคณะ” ตามประวัติท่านเจ้าคุณก็สร้างพระสมเด็จตามตำราของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไว้มากพอสมควร แต่เราก็ไม่สามารถที่จะแยกแยะได้อย่างชัดเจนในปัจจุบัน

เมื่อกล่าวตามตำราที่ว่า พระธรรมถาวร (ช่วง จนฺทโชติ) บรรพชาเป็นสามเณรได้ ๒ ปี ก็ตรงกับปี พ.ศ. ๒๔๐๐ พอดี ประกอบกับหลักฐานที่ปรากฏหลังองค์พระในพิมพ์พระมหาพุทธพิมพ์ (พระประธานใหญ่) ด้านหน้าเป็นโครงพระพักตร์ที่ไม่งดงามเหมือนที่บูรณะแล้วเสร็จในปี ๒๔๓๘ พิมพ์พระมีเส้นสายรายละเอียดคมชัด พุทธศิลป์ละม้ายกับองค์ปัจจุบันในวิหาร ด้านหลังองค์พระปั๊มตัวหนังสือคำว่า “พิเศษ” มีรูปปั๊มเป็นภาพโบสถ์ตรงกลาง และตัวเลขภาษาไทยว่า ๒๔๐๐ ทั้งหมดนี้เป็นตัวจมลงในเนื้อพระ

ในเบื้องต้นนั้น มีความสงสัยว่า ช่างฝีมือที่แกะพิมพ์พระนี้ ต้องมีความเชี่ยวชาญ มีความสามารถ ฝีมือระดับครูช่าง จึงจะสามารถทำพิมพ์พระ และกดพิมพ์พระออกมาได้อย่างสวยงาม ในรยะแรก ๆ นั้นยังไม่ได้วิเคราะห์ลงไปว่า แล้วแม่พิมพ์พระนั้นทำจากอะไร ? เพราะส่วนตัวนั้นได้สร้างพระตามตำราโบราณมาหลายครั้ง ไม่ได้ผสมกาวเหมือนกับบางโรงงานในปัจจุบัน ใช้วิธีการที่ช่างได้ถ่ายทอดกันมาในกลุ่มช่างแถวตลิ่งชันในสมัยก่อนโน้น ซึ่งเป็นบ้านเดิมของท่านเจ้าคุณพระธรรมถาวร (ช่วง) ได้พยายามศึกษาดูผู้รู้อธิบายเกี่ยวแม่พิมพ์หิน และแม่พิมพ์ต่าง ๆ ที่นำมาเสนอกันทางสื่อโซเซียล ในส่วนตัวของข้าพเจ้าเองนั้น สงสัยในสมเด็จเกษไชโย เนื้อสีดำ ว่าสร้างจากอะไร ส่วนผสมมาจากอะไรบ้าง มีมวลสารอะไรบ้าง ประกอบกับมีพระสมเด็จกรุพระมหาพุทธพิมพ์ที่แตกหักและชำรุดอยู่เป็นจำนวนมาก นำมาฝนด้วยกระดาษทราบเบอร์ละเอียดที่สุด สังเกตจากการตำเนื้อพระที่ชำรุดเพื่อผสมสร้างใหม่ ใช้แม่เหล็กดูดเนื้อพระสีดำ นำไปตรวจทางวิทยาศาสตร์ สิ่งหนึ่งที่พบก็คือ พระสมเด็จที่มีเนื้อสีดำบางองค์ มีส่วนผสมของเนื้อไม้เป็นหลัก ทำให้ฉุกคิดว่า หรือแม่พิมพ์พระบางส่วนอาจจะแกะจากเนื้อไม้ที่แข็งพอสมควร แม่เมื่อแม่พิมพ์ไม้ชำรุด ช่างไม่ได้นำไปทิ้ง คงใช้วิธีเผาแล้วนำมาเป็นมวลสารสร้างพระด้วย เช่นเดียวกับที่ใช้ผงใบลานที่ชำรุดเสียหายแล้ว นำมาสร้างพระสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาต่อไป เพราะไม่กล้าที่จะนำไปทิ้งเหมือนขยะทั่วไป บางคนนึกว่าเป็นการทำลายคัมภีร์ใบลาน ถ้าคัมภีร์ใบลายยังมีสภาพดีอยู่คงไม่มีใครกล้าไปเผาทำพระหรอก จึงขอสรุปเป็นแนวคิดได้ว่า แม่พิมพ์พระสมเด็จเกษไชโย ในช่วงแรก ๆ นั้น เป็นแม่พิมพ์ที่ทำจากไม้ จึงทำให้เกิดพิมพ์พระที่มีจำนวนมาก จำนวนถึง ๑๐๐ พิมพ์ ตามที่ได้กล่าวแล้ว ส่วนจะมีแม่พิมพ์ที่แกะจากหินบ้างหรือไม่ ต้องสังเกตจากพระที่สร้างขึ้นในแต่ละพิมพ์ เพราะว่าพระสมเด็จเกษไชโย กรุพระมหาพุทธพิมพ์ (๒๔๐๐) กรุพระเจดีย์ (๒๔๐๘) และกรุหอระฆัง (๒๔๑๑) ที่สร้างขึ้นตามวาระต่าง ๆ นั้น มีจำนวนพระ ๘๔,๐๐๐ องค์ ถึง ๓ ครั้งด้วยกัน และที่ปรากฏเป็นอัศจรรย์ก็คือ มีพระคะแนนขนาดเล็กอยู่ในกรุนี้จำนวนมากพอสมควร ชนิดที่เรียกว่า พระสมเด็จเกษไชโย (พิมพ์คะแนน) เป็นอีกพิมพ์หนึ่งที่ไม่มีใครพบเห็นมาก่อน ซึ่งจะขอกล่าวในโอกาสต่อไป

 

                                                                         ผศ.ดร.สุธี  แก้วเขียว

                                                                                           กรรมการบริษัท เจ้าพระยา เจพีวาย จำกัด

Recent Posts

วิธีการคืนสินค้า

Aug 31, 2023
คู่มือการใช้งาน
ทุกหมวดหมู่
Flash Sale
ข้อตกลงวันนี้
ประมูล